Element of Web Layout บ้านศิลไทย

ประวัติความเป็นมาของโขนไทย

โขน จัดเป็นนาฏกรรมที่มีความเป็นศิลปะเฉพาะของตนเอง ไม่ปรากฏชัดแน่นอนว่าคำว่า "โขน" ปรากฏขึ้นในสมัยใด แต่มีการเอ่ยถึงในวรรณคดีไทย เรื่องลิลิตพระลอที่กล่าวถึงโขนในงานแสดงมหรสพ ระหว่างงานพระศพของพระลอ พระเพื่อนและพระแพงว่า "ขยายโรงโขนโรงรำ ทำระทาราวเทียน" โดยมีข้อสันนิษฐานว่าคำว่าโขนนั้น มีที่มาจากคำและความหมายในภาษาต่าง ๆ ดังนี้

  • คำว่า โขน ในภาษาเบงคาลี ซึ่งปรากฏคำว่า "โขละ" หรือ "โขล" (บางครั้งเขียนด้วยคำว่า "โขฬะ") ที่เป็นชื่อเรียกของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดหนึ่งของฮินดู ลักษณะและรูปร่างคล้ายคลึงกับตะโพนของไทย ไม่มีขาตั้ง ทำด้วยดิน ไม่มีสายสำหรับถ่วงเสียง มีเสียงดังค่อนข้างมาก จัดเป็นเครื่องดนตรี ที่ได้รับความนิยมในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย ใช้สำหรับประกอบการละเล่นชนิดหนึ่ง เรียกว่า ยาตรา หรือ ละครเร่ที่คล้ายคลึงกับ ละครชาตรี โดยสันนิษฐานว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เคยถูกนำมาใช้ประกอบการเล่น นาฏกรรม ชนิดหนึ่ง จึงเรียกว่า โขล ตามชื่อของเครื่องดนตรี
  • คำว่า โขน ใน ภาษาทมิฬ มีจุดเริ่มต้นจากคำว่า โขล ซึ่งมีความใกล้เคียงกับ โกล หรือ โกลัม ใน ภาษาทมิฬ หมายความถึง เพศ หรือ การแต่งตัว การประดับตกแต่งร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ให้สวยงามตามแต่ลักษณะของเพศหญิง และเพศชาย หรือ อีกความหมายหนึ่งของ โกล หรือ โกลัม คือการใช้แป้งโรยประดับตกแต่งหน้าบ้าน
ละครใน ต้นแบบของการแสดงโขน

อ่านประวัติโขนต่อ